HACKED BY NXBBSEC

'}}

รวม Checklist ตรวจรับบ้านก่อนโอน แก้ไขได้ทัน ไม่เสียใจภายหลัง

รวม Checklist ตรวจรับบ้านก่อนโอน แก้ไขได้ทัน ไม่เสียใจภายหลัง

เมื่อเราทำการซื้อบ้านเสร็จแล้ว ก่อนที่เราจะทำการเซ็นรับมอบบ้านจะมีอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญและต้องใช้ความละเอียดรอบคอบอย่างมากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมาในภายหลัง นั่นก็คือการตรวจรับบ้านนั่นเอง โดยคนส่วนใหญ่จะจ้างบริษัทหรือวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบให้ด้วยเทคนิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเช็กสภาพความเรียบร้อยของตัวบ้าน ทั้งภายในและภายนอก รวมถึงงานระบบไฟฟ้า สุขาภิบาลต่าง ๆ ซึ่งหากมีจุดบกพร่องตรงไหนเราก็จะได้แจ้งให้ทางโครงการที่รับผิดชอบมาแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน หากเราเซ็นรับบ้านโดยไม่ผ่านขั้นตอนนี้ เมื่อมีปัญหาภายหลังอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็นในภายหลังได้ นอกจากนี้ยังต้องมากังวลกับปัญหาในระยะยาวหลาย ๆ อย่างอีกด้วย วันนี้กาญวริญขอมาบอก Checklist สำคัญที่ห้ามพลาดในการตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง หรือแม้แต่เราจ้างบริษัทรับตรวจบ้านก็ตาม หากเรามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ก็สามารถช่วยกันตรวจสอบได้ด้วยเช่นกัน

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง

  • อุปกรณ์สำหรับจดบันทึก - ควรพกดินสอ ปากกา สมุดโน้ต เพื่อจดรายละเอียดต่าง ๆ และทำเป็น Checklist
  • กล้องถ่ายรูป – ไว้บันทึกภาพตามมุมต่าง ๆ เป็นหลักฐาน
  • ตลับเมตร - ใช้วัดความยาวโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อเทียบกับแบบแปลนว่าตรงตามนั้นหรือไม่
  • กระดาษ Post It – สำหรับกำหนดจุดให้ช่างประจำโครงการมาแก้ไขหรือตรวจสอบเพิ่มเติม
  • ไขควงวัดไฟ - ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้า ควรใช้คู่กับถุงมือยางเพื่อความปลอดภัย
  • ลูกแก้วกลม – ใช้เพื่อดูความลาดเอียงของพื้น โดยเฉพาะจุดระบายน้ำต่าง ๆ

จุดหลัก ๆ ที่ต้องตรวจสอบเมื่อตรวจรับบ้าน

  1. ประตูบ้าน – ก่อนเข้าตัวบ้านก็เริ่มต้นตรวจสอบที่ประตูทางเข้าบ้านได้อย่างง่าย ๆ โดยการดูว่าบานประตูมีตำหนิตรงไหนบ้าง รอยเชื่อมต่าง ๆ มีตำหนิ มีรูหรือไม่ โครงสร้างประตูแข็งแรงดีไหม บานพับ ล้อเลื่อนมีติดขัดบ้างไหม เป็นต้น นอกจากประตูทางเข้าแล้ว เรายังสามารถใช้หลักการนี้ตรวจเช็กประตูในจุดอื่น ๆ ได้อีกด้วย
  2. ผนังบ้าน - ควรเรียบ ไม่มีรอยแตกร้าว ได้ระนาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยร้าวขนาดใหญ่ทั้งแนวดิ่งและแนวเฉียงที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างบ้านโดยรวมได้
  3. หน้าต่าง – ต้องไม่มีน้ำรั่วซึมเข้าวงกบ สามารถทดสอบได้โดยการฉีดน้ำใส่แล้วดูขอบวงกบว่ามีน้ำซึมเข้าไปหรือไม่ หากมีน้ำรั่วซึมเข้าไปต้องรีบแจ้งช่างให้ทำการแก้ไขเพราะปล่อยไว้จนถึงหน้าฝนอาจทำให้หน้าต่างบวม ปิดไม่ได้ หรือของใช้ใกล้เคียงเสียหายจากความชื้นได้อีกด้วย
  4. ระบบไฟฟ้า – ทั้งภายในและภายนอกจะต้องใช้งานได้ทุกจุด ทดสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการลองเปิดใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตำแหน่งในบ้าน อาจหาเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ เช่น ไดร์เป่าผม มาลองเสียบใช้งานตามเต้าเสียบตำแหน่งต่าง ๆ และทดสอบไฟรั่วด้วยการสับสวิตช์เบรกเกอร์ลงแล้วใช้ไขควงวัดไฟตรวจดูว่ายังมีไฟติดหรือไม่ เส้นการเดินสายไฟควรเป็นระเบียบเรียบร้อย
  5. ระบบน้ำ – ตรวจสอบได้เหมือนกับระบบไฟฟ้าด้วยการเปิดใช้งานจากทุกก๊อก ทุกจุดในบ้าน ดูความแรงของน้ำว่าไหลอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ การระบายน้ำในอ่างและท่อรวดเร็วหรือมีน้ำขังตรงจุดไหนหรือไม่ รวมไปถึงทดสอบกดน้ำชักโครกว่ามีแรงเพียงพอ มีน้ำไหลกลับเข้าชักโครกปกติและไม่มีน้ำรั่วซึมรอบชักโครก นอกจากนี้อาจทดสอบโดยการเปิดน้ำทิ้งไว้สักพักเพื่อดูการทำงานของปั๊มน้ำว่าทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่ และเมื่อปิดน้ำแล้วปั๊มน้ำก็ควรหยุดทำงานทันที หากยังมีเสียงทำงานอยู่แสดงว่ามีน้ำรั่วซึมที่จุดใดจุดหนึ่ง
  6. ฝ้าเพดาน – ควรมีการติดตั้งที่เรียบร้อย แนบสนิท ไม่มีรูรั่ว ทาสีเรียบเสมอกัน และควรมีช่องเซอร์วิสสำหรับตรวจสอบใต้หลังคาด้วย
  7. หลังคา – กระเบื้องหลังคาปูไปแนวเดียวกันสวยงาม โดยแต่ละแผ่นต้องติดกันอย่างแนบสนิทไม่มีช่องให้แสงผ่านเข้ามา ไม่มีรูรั่วหรือรอยแตก ทดสอบโดยการฉีดน้ำบนหลังคาหรือดูว่ามีจุดรั่วตรงไหนหรือไม่

สิ่งสำคัญในการตรวจรับบ้าน คือ การจดบันทึกจุดตำหนิ ถ่ายรูป / ถ่ายวิดีโอ และใช้กระดาษ Post-It มาร์กจุดให้ครบถ้วน เพื่อที่เวลาช่างโครงการมาดำเนินการแก้ไขจะได้ทำได้ครบทุกจุดเคลียร์ทุก Checklist และสามารถเปรียบเทียบก่อนและหลังการแก้ไขได้อีกครั้งก่อนที่จะเซ็นรับบ้านอย่างสบายใจ อยู่บ้านแสนรักกันได้ยาว ๆ

อ่านบทความดี ๆ ทั้งความรู้เรื่องบ้าน ไลฟ์สไตล์ และที่เที่ยวที่น่าสนใจในราชบุรีได้ที่: KWR Living Better

ข่าวสารอื่นๆ