HACKED BY NXBBSEC

'}}

6 ขั้นตอน แก้สถานะติดเครดิตบูโร เพื่อให้สามารถกู้บ้านได้

6 ขั้นตอน แก้สถานะติดเครดิตบูโร เพื่อให้สามารถกู้บ้านได้

1. สถานะ 42 คือ การโอนขายหนี้ให้กับนิติบุคคลผู้รับโอนหนี้ พิจารณาได้ 2 แบบ แบบที่ 1 จ่ายชำระปกติ ไม่ค้างชำระ แบบที่ 2 ค้างชำระ หรือ NPLหมายถึงการที่ตัวเจ้าของข้อมูลที่เป็นลูกหนี้ ไม่ได้ชำระหนี้ในบัญชีสินเชื่อ แน่นอนว่าต้องเป็นการค้างชำระที่ต่อเนื่อง ยาวนานพอควร และเป็นบัญชีหนี้เสีย (NPL Account) เรียกได้ว่าเจ้าหนี้ตามจนอ่อนอกอ่อนใจ เช่น ค้างชำระเกิน 180 วัน ค้างชะระเกิน 300 วัน ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เมื่อไม่ชำระหนี้ สัญญาไม่เป็นสัญญา ผลตามมาคือการเสียความน่าเชื่อถือในเรื่องวินัยทางการเงินและเสียความน่าเชื่อถือหากจะพยายามก่อหนี้ใหม่อีกครั้ง นานๆเข้าเจ้าหนี้สถาบันการเงินดังกล่าวก็ขายบัญชีลูกหนี้นั้นออกไปให้กับนิติบุคคลที่รับซื้อหนี้มาบริหารต่อไม่ว่าจะเป็นการตามหนี้ การฟ้องให้ชำระหนี้ เพราะเมื่อเขาซื้อสิทธิเรียกร้องมาแล้วเขาก็ต้องหาตัวลูกหนี้ให้เจอ เจรจาให้

2. ทีนี้พอจะไปยื่นขอกู้ที่ใหม่โดยยังไม่ได้ตามไปชำระเจ้าหนี้คนใหม่ที่ซื้อหนี้ของเรามันก็เป็นปัญหาสิว่า เราเป็นคนอย่างไร คนที่กำลังพิจารณาคำขอของเราก็คิดในทางลบไว้ก่อนว่า ถ้าสถานะยังเป็น 42 ก็ต้องถือว่าเป็นหนี้ค้าง เป็นหนี้เสียและยังไม่มีการชำระหนี้ เขาคงทำใจลำบากที่จะอนุมัติเงินกู้ใหม่ที่เรากำลังยื่นขอในเวลานี้

3. ทางแก้คือต้องไปชำระหนี้กับเจ้าหนี้คนใหม่ที่ซื้อหนี้ของตัวเราจากธนาคารหรือเจ้าหนี้คนเก่าแล้วเอาเอกสารยืนยันการชำระหนี้ที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “ใบปิดหนี้” มาแสดงกับสถาบันการเงินคนที่เรากำลังยื่นขอกู้ในปัจจุบันเพื่อยืนยันว่า ฉันได้ชำระหนี้ที่ค้างไว้นานแล้วนะ ฉันชำระไปเมื่อไหร่ นานแล้วหรือยัง และชำระไปด้วยจำนวนเท่าใด คนที่กำลังพิจารณาคำขอของเราจะเชื่อไม่เชื่อ เราก็บังคับเขาไม่ได้

4. จากนั้นท่านควรติดต่อเครดิตบูโรครับ ติดต่อทำไม ติดต่อเพื่อขอปรับสถานะจาก 42 ไปเป็น 43 สำหรับบัญชีนั้นเพื่อเป็นการบ่งบอกชัดๆ ในระบบว่า บัญชีที่เราค้างชำระ ไม่จ่ายหนี้ ถูกขายออกไป เราได้ตามไปชำระหนี้จนหมดสิ้นแล้วไม่มีหนี้ต่อกันแล้ว จริงแท้แล้วคือการเอาเงินไปปิดยอดหนี้ ปิดบัญชีเจ้าปัญหากับเจ้าหนี้คนที่รับซื้อหนี้ไปนั่นเองเวลาที่คนพิจารณาสินเชื่อเข้ามาดูข้อมูลในระบบก็จะเชื่อถือได้ว่า ตัวเราได้ชำระหนี้ที่เป็นประเด็นปัญหาหมดไปแล้ว

5. เมื่อเครดิตบูโรได้รับคำขอและเอกสารที่ ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว บริษัทจะดำเนินการประสานงานตรวจสอบกับสถาบันการเงิน คนที่ขายหนี้ว่าขายจริง คนที่รับชำระหนี้ว่าได้รับชำระจริง และเมื่อได้รับคำชี้แจงจากสถาบันการเงินแล้วบริษัทจะแจ้งผลให้เราได้ทราบ (ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอของเราตามที่กฎหมายกำหนด

6. เอกสารที่ต้องการกรณีที่ตัวเรามีความประสงค์ ยื่นคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี (เนื่องจากได้ชำระหนี้ให้แก่นิติบุุคคลผู้รับโอนหนี้เสร็จสิ้นแล้ว) เครดิตบูโรขอสงวนสิทธิ์ในการรับเรื่อง โดยจะรับเป็นเอกสารต้นฉบับเท่นั้น ทั้งนี้ตัวเราสามารถยื่นคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง หรือ จัดส่งเอกสารมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนซึ่งเอกสารประกอบด้วย
- แบบคำขอแก้ไขรหัสสถานะบัญชี กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน สามารถ Download จาก www.ncb.co.th
- สำเนาบัตรประชาชน ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาหนังสือยืนยันการชำระหนี้ปิดบัญชี ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาใบเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล ในกรณีที่มีการเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
จ่าหน้าถึง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ส่วนรับเรื่องร้องเรียน เลขที่ 63 ชั้น 2 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ ถ.พระราม9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 เมื่ออยากกู้วันนี้ แต่สิ่งที่เราทำไว้ในอดีตจะตามมาให้แก้ไขครับ เป็นหนี้ต้องใช้หนี้ สัญญาต้องเป็นสัญญา

ข้อมูลจาก : dotproperty

ติดตามเรา: https://www.facebook.com/kanwarinestate

ข่าวสารอื่นๆ