รวม Checklist ตรวจรับบ้านก่อนโอน แก้ไขได้ทัน ไม่เสียใจภายหลัง

รวม Checklist ตรวจรับบ้านก่อนโอน แก้ไขได้ทัน ไม่เสียใจภายหลัง

เมื่อเราทำการซื้อบ้านเสร็จแล้ว ก่อนที่เราจะทำการเซ็นรับมอบบ้านจะมีอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญและต้องใช้ความละเอียดรอบคอบอย่างมากเพื่อไม่ให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมาในภายหลัง นั่นก็คือการตรวจรับบ้านนั่นเอง โดยคนส่วนใหญ่จะจ้างบริษัทหรือวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบให้ด้วยเทคนิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเช็กสภาพความเรียบร้อยของตัวบ้าน ทั้งภายในและภายนอก รวมถึงงานระบบไฟฟ้า สุขาภิบาลต่าง ๆ ซึ่งหากมีจุดบกพร่องตรงไหนเราก็จะได้แจ้งให้ทางโครงการที่รับผิดชอบมาแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน หากเราเซ็นรับบ้านโดยไม่ผ่านขั้นตอนนี้ เมื่อมีปัญหาภายหลังอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็นในภายหลังได้ นอกจากนี้ยังต้องมากังวลกับปัญหาในระยะยาวหลาย ๆ อย่างอีกด้วย วันนี้กาญวริญขอมาบอก Checklist สำคัญที่ห้ามพลาดในการตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง หรือแม้แต่เราจ้างบริษัทรับตรวจบ้านก็ตาม หากเรามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ก็สามารถช่วยกันตรวจสอบได้ด้วยเช่นกัน

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง

  • อุปกรณ์สำหรับจดบันทึก – ควรพกดินสอ ปากกา สมุดโน้ต เพื่อจดรายละเอียดต่าง ๆ และทำเป็น Checklist
  • กล้องถ่ายรูป – ไว้บันทึกภาพตามมุมต่าง ๆ เป็นหลักฐาน
  • ตลับเมตร – ใช้วัดความยาวโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อเทียบกับแบบแปลนว่าตรงตามนั้นหรือไม่
  • กระดาษ Post It – สำหรับกำหนดจุดให้ช่างประจำโครงการมาแก้ไขหรือตรวจสอบเพิ่มเติม
  • ไขควงวัดไฟ – ใช้สำหรับตรวจสอบระบบไฟฟ้า ควรใช้คู่กับถุงมือยางเพื่อความปลอดภัย
  • ลูกแก้วกลม – ใช้เพื่อดูความลาดเอียงของพื้น โดยเฉพาะจุดระบายน้ำต่าง ๆ

จุดหลัก ๆ ที่ต้องตรวจสอบเมื่อตรวจรับบ้าน

  1. ประตูบ้าน – ก่อนเข้าตัวบ้านก็เริ่มต้นตรวจสอบที่ประตูทางเข้าบ้านได้อย่างง่าย ๆ โดยการดูว่าบานประตูมีตำหนิตรงไหนบ้าง รอยเชื่อมต่าง ๆ มีตำหนิ มีรูหรือไม่ โครงสร้างประตูแข็งแรงดีไหม บานพับ ล้อเลื่อนมีติดขัดบ้างไหม เป็นต้น นอกจากประตูทางเข้าแล้ว เรายังสามารถใช้หลักการนี้ตรวจเช็กประตูในจุดอื่น ๆ ได้อีกด้วย
  2. ผนังบ้าน – ควรเรียบ ไม่มีรอยแตกร้าว ได้ระนาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยร้าวขนาดใหญ่ทั้งแนวดิ่งและแนวเฉียงที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างบ้านโดยรวมได้
  3. หน้าต่าง – ต้องไม่มีน้ำรั่วซึมเข้าวงกบ สามารถทดสอบได้โดยการฉีดน้ำใส่แล้วดูขอบวงกบว่ามีน้ำซึมเข้าไปหรือไม่ หากมีน้ำรั่วซึมเข้าไปต้องรีบแจ้งช่างให้ทำการแก้ไขเพราะปล่อยไว้จนถึงหน้าฝนอาจทำให้หน้าต่างบวม ปิดไม่ได้ หรือของใช้ใกล้เคียงเสียหายจากความชื้นได้อีกด้วย
  4. ระบบไฟฟ้า – ทั้งภายในและภายนอกจะต้องใช้งานได้ทุกจุด ทดสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการลองเปิดใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกตำแหน่งในบ้าน อาจหาเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็ก ๆ เช่น ไดร์เป่าผม มาลองเสียบใช้งานตามเต้าเสียบตำแหน่งต่าง ๆ และทดสอบไฟรั่วด้วยการสับสวิตช์เบรกเกอร์ลงแล้วใช้ไขควงวัดไฟตรวจดูว่ายังมีไฟติดหรือไม่ เส้นการเดินสายไฟควรเป็นระเบียบเรียบร้อย
  5. ระบบน้ำ – ตรวจสอบได้เหมือนกับระบบไฟฟ้าด้วยการเปิดใช้งานจากทุกก๊อก ทุกจุดในบ้าน ดูความแรงของน้ำว่าไหลอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ การระบายน้ำในอ่างและท่อรวดเร็วหรือมีน้ำขังตรงจุดไหนหรือไม่ รวมไปถึงทดสอบกดน้ำชักโครกว่ามีแรงเพียงพอ มีน้ำไหลกลับเข้าชักโครกปกติและไม่มีน้ำรั่วซึมรอบชักโครก นอกจากนี้อาจทดสอบโดยการเปิดน้ำทิ้งไว้สักพักเพื่อดูการทำงานของปั๊มน้ำว่าทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่ และเมื่อปิดน้ำแล้วปั๊มน้ำก็ควรหยุดทำงานทันที หากยังมีเสียงทำงานอยู่แสดงว่ามีน้ำรั่วซึมที่จุดใดจุดหนึ่ง
  6. ฝ้าเพดาน – ควรมีการติดตั้งที่เรียบร้อย แนบสนิท ไม่มีรูรั่ว ทาสีเรียบเสมอกัน และควรมีช่องเซอร์วิสสำหรับตรวจสอบใต้หลังคาด้วย
  7. หลังคา – กระเบื้องหลังคาปูไปแนวเดียวกันสวยงาม โดยแต่ละแผ่นต้องติดกันอย่างแนบสนิทไม่มีช่องให้แสงผ่านเข้ามา ไม่มีรูรั่วหรือรอยแตก ทดสอบโดยการฉีดน้ำบนหลังคาหรือดูว่ามีจุดรั่วตรงไหนหรือไม่

สิ่งสำคัญในการตรวจรับบ้าน คือ การจดบันทึกจุดตำหนิ ถ่ายรูป / ถ่ายวิดีโอ และใช้กระดาษ Post-It มาร์กจุดให้ครบถ้วน เพื่อที่เวลาช่างโครงการมาดำเนินการแก้ไขจะได้ทำได้ครบทุกจุดเคลียร์ทุก Checklist และสามารถเปรียบเทียบก่อนและหลังการแก้ไขได้อีกครั้งก่อนที่จะเซ็นรับบ้านอย่างสบายใจ อยู่บ้านแสนรักกันได้ยาว ๆ

อ่านบทความดี ๆ ทั้งความรู้เรื่องบ้าน ไลฟ์สไตล์ และที่เที่ยวที่น่าสนใจในราชบุรีได้ที่: KWR Living Better

ข่าวสารอื่นๆ

No Deposit Casino Bonuses To make casino promotions that require no deposit work, prospective casino…
Mastercard is one of the most prominent and extensively approved payment approaches at on-line gambl…
ตอบคำถามว่าทาวน์เฮ้าส์กับทาวน์โฮมต่างกันอย่างไร? เลือกแบบไหนเหมาะกับใครดี